Last updated: 2 พ.ย. 2565 | 1290 จำนวนผู้เข้าชม |
ธาตุอาหารของพืช Plant nutrition.
ต้นพืชอาศัยธาตุต่างๆ ตามธรรมชาติเพื่อใช้ในการเจริญเติบโต โดยธาตุอาหารมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตตั้งแต่การงอกไปจนถึงการออกดอกติดผล ปัจจุบันธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชนั้นมีด้วยกันอยู่ 17 ธาตุ มีการจัดแบ่ง และเรียกตามความสำคัญต่อความต้องการของพืชที่นำไปใช้
ที่มาของภาพ: Adobe stock
1. มหธาตุ The macronutrients (Major elements)
เป็นธาตุอาหารของพืชที่มีความจำเป็น และพืชต้องการใช้ในปริมาณที่มากต่อการพัฒนาของพืช 3 ธาตุที่ดูดซับจากอากาศตามธรรมชาติ คือ carbon (C), oxygen (O), hydrogen (H) ทั้ง 3 ธาตุนี้มีความสำคัญในกระบวนการหายใจของพืช และที่ได้จากการดูดซับในดิน โดยแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1.1 ธาตุอาหารหลัก ได้แก่
Nitrogen (N) เป็นธาตุที่เป็นส่วนประกอบหลักของโครงสร้างโปรตีนในพืช ทำให้พืชพัฒนาโครงสร้างสีเขียว
Phosphorus (P) ช่วนเร่งการเจริญเติบโตลำต้น ใบ ราก ควบคุมการออกดอก ติดผล การสร้างเมล็ด
Potassium (K) ช่วยในการสังเคราะห์แป้ง น้ำตาล และโปรตีน ส่งเสริมการย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล ทำให้ผลหวาน
1.2 ธาตุอาหารรอง ได้แก่
Calcium (Ca) เป็นธาตุที่มีความจำเป็นต่อการแบ่งเซลล์ การผสมเกสร การงอกของเมล็ด
Sulfur (S) เป็นองค์ประกอบของกรดอะมิโน โปรตีนและวิตามิน
Magnesium (Mg) เป็นส่วนประกอบของคลอโรฟิลล์ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการสังเคราะห์แสง
ที่มาของภาพ: Adobe Stock
2. จุลธาตุ The micronutrients. (Trace elements)
เป็นธาตุอาหารที่มีส่วนช่วยในการพัฒนาของพืช พืชต้องการใช้ในปริมาณที่น้อยมาก เมื่อพืชขาดธาตุอาหารในกลุ่มนี้พืชจะมีระบบการทำงานหรือแสดงออกผิดปกติ ได้แก่
Iron (Fe) ช่วยในการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่มีความสำคัญในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
Boron (B) ช่วยสร้างอาหาร และควบคุมสารอาหารที่มีบทบาทสำคัญในการออกดอกติดผล และการเคลื่อนย้ายน้ำตาลจากใบไปสู่ผล
Chlorine (Cl) ช่วยในการย่อยธาตุอาหารของพืช และมีบทบาทสำคัญเกี่ยวกับฮอร์โมนพืช
Manganese (Mn) มีส่วนช่วยในกระบวนการสังเคราะห์แสง และการทำงานของเอ็นไซม์บางชนิด
Zinc (Zn) ช่วยในการสังเคราะห์ฮอร์โมนออกซิน คลอโรฟิลล์ และแป้ง ควบคุมการย่อยน้ำตาลของพืช
Copper (Cu) ช่วยในเรื่องการพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของพืชการสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ การใช้แป้ง โปรตีน และกระตุ้นเอนไซม์บางชนิด
Molybdenum (Mo) ช่วยให้พืชใช้ไนโตรเจนได้อย่างมีประสิทธิภาพ และเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์โปรตีน
Nickel (Ni) ควบคุมเอนไซม์และการปลดปล่อยไนโตรเจนให้อยู่ในรูปที่พืชนำไปใช้ได้
อ้างอิง:https://www.opsmoac.go.th/angthong-article_prov-preview-421891791858
https://en.wikipedia.org/wiki/Plant_nutrition
https://www.dpi.nsw.gov.au/agriculture/soils/soil-testing-and-analysis/plant-nutrients
http://oss101.ldd.go.th/web_soils_for_youth/s_prop_nutri02.htm
17 ก.ย. 2567
6 พ.ย. 2567
15 มี.ค. 2567
14 มี.ค. 2567